กระทรวงศึกษาธิการ ผุดตำราเรียน “ชลกร” ครั้งแรกในไทย

กระทรวงศึกษาธิการ ผุดตำราเรียน “ชลกร” ครั้งแรกในไทย

นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย โฆษกรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณ พนิช) กล่าวว่า วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี (วษท.) ได้เปิดรับนักศึกษา ระดับ ปวส. ภายใต้โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ สาขาวิชาช่างกลเกษตร สาขางานการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร (หลักสูตรชลกร) ประจำปีการศึกษา 2565 เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

จนถึงขณะนี้มีนักศึกษาสนใจสมัครเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยหลักสูตรชลกรในรุ่นที่ 2 นี้ จะเปิดสอนใน 11 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ได้แก่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ อุบลราชานี ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ ขอนแก่น อุดรธานี ชัยภูมิ และสุโขทัย

“หลักสูตรชลกร รุ่นที่ 2 มีนักเรียนให้ความสนใจสมัครเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้วิทยาลัยเกษตรฯ บางแห่งก็ปิดรับสมัครไปแล้วเพราะเต็มจำนวนที่รับได้ แต่บางแห่งยังเปิดรับได้อยู่ ถ้าสนใจให้รีบไปสมัคร เพราะถ้าวิทยาลัยฯ ไหนเต็มก็จะปิดรับในทันที ซึ่งในรุ่นที่ 2 นี้ยังให้ทุนเรียนฟรี

รวมถึงได้ขยายโอกาสการเรียนรู้เพิ่มไปอีก 5 วิทยาลัยฯ ในภาคอีสานเพื่อต้องการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เยาวชนคนรุ่นใหม่ และสู่ชุมชนได้อย่างครอบคลุมในทุกพื้นที่ตามเจตนารมณ์ของคุณหญิงกัลยาที่ต้องการจะสานต่อศาสตร์พระราชาและยกระดับองค์ความรู้สู่สากล ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน”

นางดรุณวรรณ กล่าวต่อว่า สำหรับหลักสูตรชลกรในรุ่นที่ 2/2565 นี้ ถือเป็นการต่อยอดสู่มาตรฐานสากล มีความเข้มข้นขึ้น และเป็นครั้งแรกที่มีหนังสือหลักสูตรชลกรเล่มแรก เพื่อประกอบการเรียนการสอนให้มีความสมบูรณ์ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงมีความพร้อมทั้งด้านอุปกรณ์ เครื่องมือประกอบการเรียนรู้ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากคุณหญิงกัลยา สนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อ

นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย โฆษกรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

นอกจากนี้หลักสูตรชลกร ซึ่งเน้นองค์ความรู้ที่ได้จากผู้ปฏิบัติจริงในสายงานจริง จึงได้มีอาจารย์พิเศษ และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น ๆ มาเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงมากกว่าเรียนอยู่ในห้องเรียน และที่สำคัญขณะนี้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาเป็นภาคีเครือข่ายสนับสนุนและเปิดรับนักเรียนหลักสูตรชลกรเข้าไปฝึกงานหาประสบการณ์ ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสและต่อยอดให้นักเรียนสามารถเข้าทำงานกับหน่วยงานนั้นๆ ในอนาคตได้มากขึ้น

ทั้งนี้คุณหญิงกัลยา ยังต้องการขยายโอกาสการเรียนรู้หลักสูตรชลกร สู่บุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยอาจจะเปิดเป็นหลักสูตรระยะสั้นสำหรับบุคคลทั่วไป หรือหน่วยงานไหนที่สนใจสามารถติดต่อเข้ามาฝึกอบรมเป็นหลักสูตรระยะสั้นได้ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีหลายหน่วยงานสนใจส่งบุคลากรเข้ามาเรียนรู้หลักสูตรชลกรไปบ้างแล้ว อาทิ กองทัพบก กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ เป็นต้น

สำหรับหลักสูตรชลกรถูกจัดให้อยู่ในหลักสูตรช่างกลเกษตร โดยมี 6 วิชาหลักที่เพิ่มเติมเข้ามา ประกอบด้วย

1.หลักการอุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยาเบื้องต้น

2.การบริหารจัดการน้ำเบื้องต้น

3.หลักการธนาคารน้ำใต้ดิน

.การบริหารจัดการน้ำเสียชุมชน

5.หลักการจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำและดิน และ

6.การบริหารจัดการลุ่มน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ primaxpayments.com

UFA Slot

Releated